Termination of a Thai marriage under Thai Family Law

A Thai mariage under Thai law comes to its end at death, divorce or being cancelled by the Court. Divorce puts an end to the marriage. The legal process for divorce in Thailand is through a simple amphur procedure which requires mutual consent or more lengthy and costly court procudere and effected by judgment of the court.The results and effects of a divorce in Thailand are the same as when the marriage is cancelled.

CHAPTER VI - หมวด 6

TERMINATION OF MARRIAGE - การสิ้นสุดแห่งการสมรส

Section 1501. Marriage (Thai marriage) in Thailand is terminated by death, divorce or being cancelled by the Court.

มาตรา 1501 การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษา ให้เพิกถอน

Section 1502. A voidable marriage terminates upon cancellation decided by judgment of the Court.

มาตรา 1502 การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน

Section 1503. An application to the Court for cancellation of marriage on the ground of its avoidable shall be made only in the case where the spouses have not complied with Section 1448, Section 1505, Section 1506, Section 1507, and Section 1509.

มาตรา 1503 เหตุที่จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรส เพราะเหตุว่าเป็น โมฆียะ มีเฉพาะในกรณีที่คู่สมรสทำการฝ่าฝืนมาตรา 1448 มาตรา 1505 มาตรา 1506 มาตรา 1507 และมาตรา 1509

Section 1504. An interested person other than the parents or guardian who have given their consent to the marriage is entitled to apply for cancellation of the marriage on the ground of its voidability.

If the court has not cancelled the marriage until both man and woman have completed the age required under Section 1448 or if the woman has become pregnant before such completion, the marriage shall be deemed to be valid from the time it was made.

มาตรา 1504 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1448 ผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้เพิกถอนการสมรสได้ แต่บิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ให้ความยินยอมแล้วจะขอให้เพิกถอน การสมรสไม่ได้

ถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนชายหญิงมีอายุครบตามมาตรา 1448 หรือ เมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบตามมาตรา 1448 ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส

Section 1505. A marriage which is made on account of mistake as to the identity of the other spouse shall be deemed to be voidable.

The right to apply for cancellation of the marriage on account of mistake as to the identity of the spouse shall be terminated after the lapse of ninety days from the date of marriage.

มาตรา 1505 การสมรสที่ได้กระทำไปโดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดตัวคู่สมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ

สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัวคู่สมรสเป็นอันระงับเมื่อเวลา ได้ผ่านพ้นไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันสมรส

Section 1506. A marriage is voidable if it is made by the spouses on account of fraud to such an extent that without it the marriage would not have been made.

The provisions of paragraph one shall not apply to the case not apply to the case where the other spouse has not known the fraud committed by a third person.

The right to apply for cancellation of the marriage on account of fraud shall be terminated after the lapse of ninety days from the day on which the spouse has known or should have known of the fraud, or after the lapse of one year from the date marriage.

มาตรา 1506 ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกกลฉ้อฉลอันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มี กลฉ้อฉลนั้นจะไม่ทำการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับในกรณีที่กลฉ้อฉลนั้นเกิดขึ้นโดยบุคคลที่สาม โดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้เห็นด้วย สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับเมื่อเวลาได้ผ่านพ้น ไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉล หรือเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปี นับแต่วันสมรส

Section 1507. A marriage is voidable if it is made by the spouses on account of duress to such an extent that without it the marriage would not have been made.

The right to apply for cancellation of the marriage on account of duress shall be terminated after the lapse of one year from the day on which the spouse is free from duress.

มาตรา 1507 ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการ ข่มขู่นั้นจะไม่ทำการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ

สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกข่มขู่เป็นอันระงับ เมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้ว หนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากการข่มขู่

Section1508. Where the marriage is voidable on account of mistake as to the identity of the spouse, fraud or duress, only the spouse who mistook the identity of the other, or was induced by fraud or duress to contract the marriage may apply for the cancellation of such marriage.

In case where the person entitled to apply for the cancellation of the marriage has been adjudged incompetent, the person who may apply to the Court for an order effecting an insane person to be an incapacitated person under Section 29, may also apply for the cancellation of such marriage. Where the person entitled to apply for the cancellation of the marriage is an insane person not yet adjudged incompetent, the said person may apply for the cancellation of such marriage but must apply concurrently to the Court for an order effecting him to be an incapacitated person. If the Court gives an order revoking the application for an order effecting him to be an incapacitated person, the Court shall also order revoking the application made by the said person for the cancellation of the marriage.

The order of the Court revoking the application made by the person for cancellation of the marriage under paragraph two does not effect the right of the spouse to apply for the cancellation of the marriage; provided that the spouse exercise his or her right within the remaining period of time. If the remaining period of time is less than six months as from the day on which the order of the Court revoking the application made by the said person for cancellation of the marriage is given, or if there remains no such period, the period of time shall correspondingly be extended to the completion of six months as from the day on which the order of the Court revoking the application made by the said person for the cancellation of the marriage is given.

มาตรา 1508 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะคู่สมรสสำคัญผิดตัวหรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ เฉพาะแต่คู่สมรสที่สำคัญผิดตัวหรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่เท่านั้นขอเพิกถอน การสมรสได้

ในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ สามารถ ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ ตาม มาตรา 28 ขอเพิกถอนการสมรสได้ด้วย แต่ถ้าผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นคนวิกลจริต ที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ บุคคลดังกล่าวจะร้องขอเพิกถอนการสมรสก็ได้ แต่ต้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถพร้อมกันด้วย ในกรณีที่ศาลมีคำสั่ง ให้ยกคำขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอเพิกถอนการสมรสของ บุคคลดังกล่าวนั้นเสียด้วย

คำสั่งศาลให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลตามวรรคสองไม่กระทบ กระเทือนสิทธิการขอเพิกถอนการสมรสของคู่สมรส แต่คู่สมรสจะต้องใช้สิทธินั้นภายในกำหนด ระยะเวลาที่คู่สมรสมีอยู่ ถ้าระยะเวลาดังกล่าวเหลืออยู่ไม่ถึงหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยก คำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าวหรือไม่มีเหลืออยู่เลย ก็ให้ขยายระยะเวลานั้นออกไปได้ ให้ครบหกเดือนหรืออีกหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคล ดังกล่าว แล้วแต่กรณี

Section 1509. The marriage made without consent of the persons mentioned in Section 1454 is voidable.

มาตรา 1509 การสมรสที่มิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวในมาตรา 1454 การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ

Section 1510. Where the marriage is voidable on account of having been made without consent of the persons mentioned in Section 1454, only the person who can give the consent under Section 1454 may apply for the cancellation of the marriage.

The right to apply for the cancellation of the marriage under this Section is extinguished when the spouse has completed the age of twentieth year or when the woman has become pregnant.

The action for the cancellation of the marriage under this Section is barred by prescription after one year from the day where the marriage is known.

มาตรา 1510 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะมิได้รับความยินยอมของบุคคล ดังกล่าวในมาตรา 1454 เฉพาะบุคคลที่อาจให้ความยินยอมตามมาตรา 1454 เท่านั้น ขอให้ เพิกถอนการสมรสได้

สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้เป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ ยี่สิบปีบริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์

การฟ้องขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้ให้มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันทราบ การสมรส

Section 1511. The marriage which is cancelled by judgment of the Court shall be deemed to have terminated on the day when the judgment becomes final; provided, however, that it may not be raised to the prejudice of the rights of third persons acting in good faith unless the cancellation of the marriage has been registered.

มาตรา 1511 การสมรสที่ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนนั้น ให้ถือว่าสิ้นสุดลง ในวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการเพิกถอนการสมรสนั้นแล้ว

Section 1512. The provisions concerning the result of divorce by judgment of the Court shall apply to the result of cancellation of the marriage mutatis mutandis.

มาตรา 1512 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยผลของการหย่าโดยคำพิพากษามาใช้บังคับ แก่ผลของการเพิกถอนการสมรสโดยอนุโลม

Section 1513. If it appears that the spouse sued on cancellation of the marriage has known of the ground of the avoidability, such spouse is required to make compensation for the damage to the body, reputation or property of the other arising from such marriage, and the provisions of Section 1525 shall apply mutatis mutandis.

If the other spouse becomes destitute due to the cancellation of the marriage under paragraph one and derives insufficient income out of his or her property of business which used to be carried on during the marriage, the spouse against whom the action has been brought is also required to be liable to living allowances as provided in section 1526.

มาตรา 1513 ถ้าปรากฏว่าคู่สมรสที่ถูกฟ้องเพิกถอนการสมรสได้รู้เห็นเป็นใจ ในเหตุแห่งโมฆียะกรรม คู่สมรสนั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับต่อกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน เนื่องจากการสมรสนั้น และให้นำมาตรา 1525 มาใช้บังคับโดย อนุโลม

ถ้าหากการเพิกถอนการสมรสตามวรรคหนึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง และไม่มี รายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส คู่สมรสที่ถูกฟ้องร้องนั้น จะต้องรับผิดในค่าเลี้ยงชีพดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 ด้วย

Section 1514. Divorce may be effected only by mutual consent or by judgment of the Court.

Divorce effected by mutual consent must be made in writing and certified by the signatures of at least two witnesses.

มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดย คำพิพากษาของศาล

การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย สองคน

Section 1515. Where marriage has been registered as provided by this Code, divorce by mutual consent is valid only if the registration thereof is effected by both the husband and wife.

มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความ ยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

Section 1516. Grounds of action for divorce are as follows:

  1. one spouse has given a maintenance to or honored such other person as wife or husband, committed adultery or had regular sexual intercourse with such other person, such other spouse may enter an action for divorce;
  2. one spouse is guilty of misconduct, notwithstanding whether such misconduct is a criminal offence or not, if it causes the other:
    • to be seriously ashamed;
    • to be insulted of hated or account of continuance of being husband or wife of the spouse having committed the misconduct;
    • or to sustain excessive injury or trouble where the condition, position and cohabitation as husband and wife are taken into consideration;
      the latter may enter a claim for divorce;
  3. one spouse has caused serious harm or torture to the body or mind of the other, or has seriously insulted the other or his or her ascendants, the latter may enter a claim for divorce;
  4. one spouse has deserted the other for more than one year, the latter may enter a claim for divorce;
    • 4/1 one spouse had been sentenced by a final judgment of the Court and has been imprisoned for more than one year in the offence committed without any participation, consent or in the knowledge of the other, and the cohabitation as husband and wife will cause the other party sustain excessive injury or trouble, the latter may enter a claim for divorce;
    • 4/2 The husband and wife voluntarily live separately because of being unable to cohabit peacefully for more than three years, or live separately for more than three years by the order of the Court, either spouse may enter a claim for divorce;
  5. one spouse has been adjudged to have disappeared, or as left his or her domicile or residence for more than three years and being uncertain whether he or she is living or dead;
  6. one spouse has failed to give proper maintenance and support to the other, or committed acts seriously adverse to the relationship of husband and wife to such an extent that the other has been in excessive trouble where the condition, position and cohabitation as husband and wife are taking into consideration, the latter may enter a claim for divorce;
  7. one spouse has been an insane person for more than three years continuously and such insanity is hardly curable so that the continuance of marriage cannot be expected, the other may enter a claim for divorce;
  8. one spouse has broken a bond of good behavior executed by him or her, the other spouse may enter a claim for divorce;
  9. one spouse is suffering from a communicable and dangerous disease which is incurable and may cause injury to the other, the latter may file a claim for divorce;
  10. one spouse has a physical disadvantage so as to be permanently unable to cohabit as husband and wife, the other may enter a claim for divorce.

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1)สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญา หรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

  • (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
  • (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
  • (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและ ความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้

(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้

    (4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน หนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็น เป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
  • (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามี ภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือ ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีก ฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึง ประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะ ยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้

(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและ โรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณี ได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

Section 1517. No action for divorce may be instituted by the husband or wife, as the case may be if such spouse has consented to or connived at the acts under Section 1516 (1) and (2) upon which the action for divorce is based.

มาตรา 1517 เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็น เป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

If the ground of action for divorce under Section 1516 (10) has resulted from the act of the other spouse, the action for divorce based upon such ground may not be instituted by such other spouse.

Where the action for divorce based upon the ground under section 1516 (8) has been instituted, the Court may not pronounce judgment to effect the divorce if the behavior of the husband or wife that causes the bond to have been executed is a minor cause or of no importance in relation to peaceful cohabitation as husband and wife.

เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตามมาตรา 1516 (8) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือ ไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้

Section 1518. The right to institute an action for divorce would be terminated if the spouse entitled thereto has committed any act showing his or her forgiveness to the act done by the other that has caused the right to institute the action for divorce.

มาตรา 1518 สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการ อันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว

Section 1519. In case where one spouse is an insane person and if there gives rise to the ground of action for divorce irrespective of whether it arises before or after the insanity, the person entitled to apply to the Court for an order effecting the instance person to be an incapacitated person under Section 28* shall have the power to enter an action against the other spouse for divorce and liquidation of the property. In such a case if no order of the Court effecting the insane spouse to be an incapacitated person has yet been given, the said person shall apply to the Court in the same case for an order effecting the insane spouse to be an incapacitated person.

The said person may, if deemed suitable, also apply to the Court for giving the order under Section 1526 and Section 1530.

In case where the spouse alleged to be an insane person has not yet been adjudged incompetent, and if the Court deems that such spouse should not be judged incompetent, the case shall then be dismissed. If the spouse is deemed suitable to be adjudged incompetent but an order to effect the divorce should not yet be given as yet, the Court shall adjudge the spouse to be an incapacitated person and may not give order concerning the guardian or appointing other person to be guardian under Section 1463 while the application for divorce will be dismissed, and the Court may in this connection give an order determining living allowances. In case where the spouse is deemed to be insane and should be adjudged incompetent by the Court and the application for divorce should also be granted, the Court shall issue an order in the judgment effecting such spouse to be an incapacitated person, appointing a guardian and allowing the divorce.

In case there the Court deems that the ground upon which the claim for divorce is based is not proper to the condition of the incapacitated spouse who is going to divorce the other spouse, ir it is not proper under such circumstances that divorce should be allowed, the Court may not pronounce the judgment to effect the divorce.

มาตรา 1519 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริตและมีเหตุหย่าเกิด ขึ้นไม่ว่าเหตุนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือภายหลังการเป็นคนวิกลจริต ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาล ให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถตามมาตรา 28 มีอำนาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ขอให้ศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกันและแบ่งทรัพย์สินได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้ายังมิได้มีคำสั่งของ ศาลแสดงว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถก็ให้บุคคลดังกล่าวขอร้องขอต่อศาลในคดี เดียวกันนั้นให้ศาลมีคำสั่งว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลดังกล่าวเห็นสมควร จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตามมาตรา 1526 หรือ มาตรา 1530 ด้วยก็ได้

ในกรณีที่คู่สมรสซึ่งถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริตยังไม่ได้ถูกสั่งให้เป็นคนไร้ความ สามารถ หากศาลเห็นว่าคู่สมรสนั้นยังไม่เป็นคนที่ควรสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถก็ให้ยกฟ้องคดี นั้นเสีย ถ้าเห็นว่าเป็นบุคคลที่ควรสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ แต่ยังไม่สมควรจะให้มีการหย่า ก็ให้ศาลสั่งให้คู่สมรสนั้นเป็นคนไร้ความสามารถโดยไม่จะสั่งเรื่องผู้อนุบาลหรือจะตั้งผู้อื่นเป็น ผู้อนุบาลตามมาตรา 1463 ก็ได้ คงพิพากษายกแต่เฉพาะข้อหย่า ในกรณีเช่นนี้ศาลจะสั่งกำหนด ค่าเลี้ยงชีพด้วยก็ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคู่สมรสนั้นวิกลจริตอันควรสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และทั้งมีเหตุควรให้หย่าด้วย ก็ให้ศาลสั่งในคำพิพากษาให้คู่สมรสนั้นเป็นคนไร้ความสามารถตั้ง ผู้อนุบาลและให้หย่า

ในกรณีนี้ ถ้าศาลเห็นว่าเหตุหย่าที่ยกขึ้นอ้างในการฟ้องร้องนั้นไม่เหมาะสมแก่ สภาพของคู่สมรสซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถที่จะหย่าจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก็ดี ตามพฤติการณ์ ไม่สมควรที่จะให้มีการหย่าขาดจากกันก็ดี ศาลจะพิพากษาไม่ให้หย่าก็ได้

Section 1520. In case of divorce by mutual consent, the spouses shall make an agreement in writing for the exercise of parental power over each of the children. In the absence of such agreement or an agreement thereon cannot be reached, the matter shall be decided by the Court.

In case of divorce by judgment of the Court, the Court trying the divorce case shall also order that the parental power over each of the children belongs to any party. If, in such trial, it is deemed proper to deprive that spouse of the parental power under Section 1582, the Court may give an order depriving that spouse of the same and appointing a third person as a guardian, by taking into consideration the happiness and interest of the child.

มาตรา 1520 ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็น หนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด

ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วย ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาดถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอน อำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ตามมาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและ สั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้น เป็นสำคัญ

Section 1521. If it appears that the person exercising parental power of the guardian under Section 1520 behaves himself or herself improperly or there is a change of circumstances after the appointment, the Court has the power to give an order appointing a new guardian by taking into consideration the happiness and interest of the child.

มาตรา 1521 ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1520 ประพฤติตนไม่สมควร หรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้ อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ

Section 1522. In case of divorce by mutual consent, an arrangement shall be made and contained in the agreement of divorce as to who, both of the spouses or either spouse, will contribute to the maintenance of the children and how much is the contribution.

In case of divorce by judgment of the Court or in case the agreement of divorce contains no provisions concerning the maintenance of the children, the Court shall determine it.

มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญา หย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเงินเท่าใด

ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

Section 1523. In case of divorce by judgment of the Court on the ground as provided in Section 1516 (1), the husband or wife is entitled to compensation from the husband or wife and such other person receiving maintenance or honor ot suh other person causing such divroce.

The husband is entitled to claim compensation from any person who has wrongfully taken liberties with his wife in an adulterous manner, and the wife is entitled to claim compensation from other woman who has openly shown her adulterous relations with the former's husband.

However, the husband or wife is not entitled to claim compensation if he or she has consented to or connive at the act done by other party under Section 1516 (1) or allowed other person to act as provided in paragraph two.

มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือ สามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทน จากสามีหรือภริยาและจากหญิงอื่นหรือชู้ แล้วแต่กรณี

สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยา จะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีใน ทำนองชู้สาวก็ได้

ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา

Section 1524. If the ground of action for divorce under Section 1516 (3), (4) or (6) has arisen through an act of the party at fault with the intention to make the other party so intolerable that action for divorce has to be entered, the other party is entitled to compensation from the party at fault.

มาตรา 1524 ถ้าเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 (3) (4) หรือ (6) เกิดขึ้นเพราะ ฝ่ายผู้ต้องรับผิดชอบก่อให้เกิดขึ้นโดยมุ่งประสงค์ให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่อาจทนได้ จึงต้องฟ้องหย่า อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากฝ่ายที่ต้องรับผิด

Section 1525. The compensation under Section 1523 and Section 1524 shall be decided by the Court according to the circumstances, and the Court may give an order for a single payment thereof or payment in installments as may be deemed suitable by the Court.

In case where the person who has to make the Compensation is a spouse of the other party, the share of the property received by the former from the liquidation of the Sin Somros on account of divorce shall also be taken into consideration.

มาตรา 1525 ค่าทดแทนตามมาตรา 1523 และมาตรา 1524 นั้น ให้ศาลวินิจฉัย ตามควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวดๆ มีกำหนดเวลา ตามที่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้

ในกรณีที่ผู้จะต้องชำระค่าทดแทนเป็นคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลคำนึงถึง จำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่านั้นด้วย

Section 1526. In a case of divorce, if the ground for divorce has derived from the guilt of only one party, and the divorce will make the other become destitute deriving insufficient income out of his or her property or business which used to be carried on during the marriage, the latter is entitled to apply for the living allowances to be paid by the party at fault. The Court may decide whether the living allowances be granted or not by taking the ability of the grantor and the condition in life of the receiver into consideration, and the provisions of Section 1598/39, Section 1598/40 and Section 1598/41 shall apply mutatis mutandis.

มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจาก ทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิด จ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของ ผู้ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติมาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น

The right to claim the living allowances is extinguished if it is not raised in the plaint or counter-claim in the action for divorce.

มาตรา 1527 ถ้าหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตตามมาตรา 1516 (7) หรือเพราะ เหตุเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 1516 (9) คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องออกค่าเลี้ยงชีพให้แก่ ฝ่ายที่วิกลจริตหรือฝ่ายที่เป็นโรคติดต่อนั้นโดยคำนวณค่าเลี้ยงชีพอนุโลมตามมาตรา 1526

Section 1527. If a divorce is effected on the ground of insanity under Section 1516 (7) or on the ground of suffering from a communicable and dangerous disease under Section 1516 (9), the other spouse shall furnish living allowances to the spouse who is insane or is suffering from the disease, according to Section 1526, mutatis mutandis.

มาตรา 1528 ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพย่อมหมดไป

Section 1528. If the party receiving living allowances remarries, the right to receive living allowances is extinguished.

มาตรา 1528 ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพย่อมหมดไป

Section 1529. Rights of action based upon any of the grounds provided in Section 1516 (1), (2), (3) or (6), or Section 1523 are extinguished after one year when the fact which can be alleged by the claimant has been known or should have been known to him or her.

Grounds upon which a claim for divorce can no longer be based may still be proved in support of another claim for divorce based upon other grounds.

มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุในมาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจ ยกขึ้นกล่าวอ้าง

เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่งอาศัย เหตุอย่างอื่น

Section 1530. Where an action for divorce is pending, the Court may, on application of either party, make any provisional order which it thinks proper such as those concerning the Sin Somros, the lodging, the maintenance of the spouses and the custody and maintenance of children.

มาตรา 1530 ขณะคดีฟ้องหย่าอยู่ในระหว่างพิจารณา ถ้าฝ่ายใดร้องขอ ศาลอาจสั่ง ชั่วคราวให้จัดการตามที่เห็นสมควร เช่น ในเรื่องสินสมรส ที่พักอาศัย การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา และการพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร

Section 1531. In case where a marriage has been registered according to law, divorce by mutual consent takes effect from the time of registration.

Divorce by judgment of the Court takes effect on and from the time when the judgment becomes final; however, such judgment may not be set up to the prejudice to the rights of third persons acting in good faith unless the divorce has been registered.

มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดยความยินยอม ของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้นไป

การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุ เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

Section 1532. After divorce, the property of the husband and wife shall be subject to liquidation.

But as between the spouses,

  • in case of divorce by mutual consent, the liquidation shall apply to the property of the husband and wife as it was on the date of registration of divorce;
  • in case of divorce by judgment, the liquidation shall apply to the property of the husband and wife as it was on the day when the action fordivorce was entered in Court.

มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา

แต่ในระหว่างสามีภริยา

  • (ก) ถ้าเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่งทรัพย์สิน ของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
  • (ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับทรัพย์สิน ระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่ามาตรา

Section 1533. Upon divorce, the Sin Somros shall be divided equally between man and woman.

มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

Section 1534. Where either spouse has made disposal of the Sin Somros for his or her exclusive benefit, or has made disposal thereof with an intention to cause injury to the other, or has made disposal thereof without the consent of the other in the case where such disposal is required by law to have consent of the other, or has wilfully destroyed it, it shall, for the purpose of division of the Sin Somros under Section 1533, be regarded as if such property had still remained. If the share of the Sin Somros that the other will receive is not complete to what he or she should have received, the party at fault is required to make up for the arrears from his or her share of the Sin Somros or his or her Sin Suan Tua.

มาตรา 1534 สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไปเพื่อประโยชน์ ตนฝ่ายเดียวก็ดี จำหน่ายไปโดยเจตนาทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายก็ดี จำหน่ายไปโดยมิได้ รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่กฎหมายบังคับว่าการจำหน่ายนั้นจะต้องได้รับ ความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยก็ดี จงใจทำลายให้สูญหายไปก็ดี ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้น ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 และถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วนแบ่งสินสมรส ไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสฝ่ายที่ได้จำหน่ายหรือจงใจทำลายสินสมรสนั้นชดใช้จาก สินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัว

Section 1535. Upon termination of the marriage, the man and woman shall be liable for common debts equally.

มาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิด ด้วยกันตามส่วนเท่ากัน

Note: English translations of the original Thai law texts are prepared for reference purposes only. Only the Thai script versions, as published in the royal Thai government gazette (ราชกิจจานุเบกษา), shall have legal force in Thailand.